โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) ตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ
ปรับปรุงล่าสุด: 15 ธันวาคม 2564

U2T

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย) ต.เดิมบาง อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
(ผู้รับผิดชอบโครงการ   ผศ.ดร.วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ)


 

กิจกรรมที่ 1 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนากลุ่มเกษตรกรเพื่อการพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในครัวเรือน

[หลักสูตรที่ 1] Ι [หลักสูตรที่ 2] Ι [หลักสูตรที่ 3]


หลักสูตรที่ 1 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในครัวเรือนสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน และถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในครัวเรือน
วันที่ 16-17 ตุลาคม 2564 ณ ตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี

  • แนวทางการสกัดสารสมุนไพรโดยวิธีอย่างง่ายในครัวเรือน โดย ผศ.ดร.สิริรัตน์  พานิช
  • การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากน้ำสกัดใบพลู โดย นายอาทิตย์ เจียวท่าไม้ (บริษัทผลิตภัณฑ์ใบพลูไทย จำกัด)

ดร.จิระศักดิ์ ธาระจักร์  คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย) ตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี  ร่วมกับ นายศุภฤกษ์ นุ่มดี รองนายกเทศมนตรี ตัวแทนผู้บริหารเทศบาลตำบลเดิมบาง

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร พร้อมให้การสนับสนุนในด้านบุคลากร เครื่องมือ หรือความร่วมมืออื่นๆ ที่จะสามารถในการเพิ่มทักษะอาชีพ สร้างอาชีพใหม่ให้กลุ่มเกษตรกร หรือผู้ที่สนใจต้องการพัฒนาทักษะ เพิ่มความรู้ หรือกระบวนการบนฐานวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งในระดับครัวเรือน ชุมชน สังคม และประเทศต่อไป

คณะกรรมการดำเนินงาน/วิทยากร

  • ผศ.ดร.วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ (worvith.c@rmutp.ac.th)
  • ผศ.ดร.สิริรัตน์ พานิช
  • อ.อัญชนา ขัตติยะวงศ์
  • ผศ.ธนัฎฐา อำนวยวัฒนะกุล
  • ดร.เกรียงไกร เหลืองอำพล
  • ผศ.เชาวลิต อุปฐาก
  • นางสวณีย์ โพธิ์รัง (ประธานวิสาหกิจชุมชน)
  • นายอาทิตย์ เจียวท่าไม้ (บริษัทผลิตภัณฑ์ใบพลูไทย จำกัด)

หลักสูตร/หัวข้อ

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในครัวเรือนสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน ประกอบด้วยหัวข้อดังนี้

  1.  แนวทางการสกัดสารสมุนไพรโดยวิธีอย่างง่ายในครัวเรือน  โดย ผศ.ดร.สิริรัตน์ พานิช และ ผศ.ดร.วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ
  2. การพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์สเปรย์กึ่งเจลแอลกอฮอล์จากสารสกัดข้าว
  3. การพัฒนาสูตรโฟมล้างมือจากสมุนไพรสำหรับฆ่าเชื้อโควิด-19
  4. การพัฒนาสูตรสารน้ำยาฆ่าเชื้อ BKC
  5. การพัฒนาสูตรน้ำยาล้างจานจากสมุนไพร
  6. การพัฒนาสูตรน้ำยาซักผ้า สูตรอ่อนโยน

 

การอบรมเชิงปฏิบัติการยังได้รับการอนุเคราะห์จาก คุณอาทิตย์ เจียวท่าไม้  ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัท ผลิตภัณฑ์ใบพลูไทย จำกัด ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อ Pluvicol ผู้ประกอบการที่ผันตัวจากวิศวกรมาเป็นผู้พัฒนาสารสกัดจากใบพลู โดยดำเนินกิจการสกัดและแปรรูปสมุนไพร กลุ่มผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร  (ม. 2 ต.ท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร) มาร่วมถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ตรงในการพัฒนาทักษะ องค์ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดยเฉพาะใบพลู ที่สามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ได้อย่างหลากหลาย เช่น

  • น้ำมันจากใบพลู  (เป็นผลิตภัณฑ์หลักของบริษัท)
  • ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจากไฮโดรโซลใบพลู  (ความร่วมมือกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เพื่อพัฒนาสูตรและประสิทธิภาพ)
  • เซรั่ม สบู่ และแซมพู

"ลองมองหาสิ่งใกล้ตัว ว่าเรามีของดี ๆ อะไรบ้าง และศึกษาว่าเราจะสามารถนำประโยชน์ของสิ่งเหล่านั้นออกมา"

 

« of 5 »

เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ

หลักสูตรที่ 2 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน


หลักสูตรที่ 2 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน และถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
วันที่ 24-25 ตุลาคม 2564 ณ ตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี

  • แนวทางการใช้สกัดสารสมุนไพรสำหรับเครื่องสำอาง  โดย ผศ.ดร.วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ และ ผศ.ดร.สิริรัตน์ พานิช
  • การพัฒนาทักษะและเทคนิคการผลิตสบู่สมุนไพรและข้าวหอมมะลิ  โดย คุณธัญญารัตน์ ตั้วเจริญ และ คุณทนงศักดิ์ ตั้วเจริญ (บ.กีรติ จำกัด)
  • การพัฒนาทักษะและเทคนิคการผลิตครีมบำรุงผิวจากสารสกัดข้าวไรท์เบอร์รี่  โดย อ.อัญชนา  ขัตติยะวงศ์, ผศ.ดร.สิริรัตน์ พานิช, ผศ.ธนัฎฐา  อำนวยวัฒนะกุล และ ดร.เกรียงไกร เหลืองอำพล
  • การพัฒนาทักษะและเทคนิคการผลิตไฮยาเซรัมจากสารสกัดข้าวไรท์เบอร์รี่ โดย อ.อัญชนา  ขัตติยะวงศ์, ผศ.ธนัฎฐา  อำนวยวัฒนะกุล และ ผศ.เชาวลิต อุปฐาก

การอบรมเชิงปฏิบัติการยังได้รับการอนุเคราะห์จากวิทยากรเจ้าของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์โอทอปของจังหวัดสมุทรสงคราม คุณธัญญารัตน์ ตั้วเจริญ (บ.กีรติ จำกัด) #giratithailand ให้เกียรตินำความรู้และประสบการณ์ตรงจากผู้ประกอบการที่ปรับเปลี่ยนแนวทางจากพนักงานบริษัทเอกชนสู่การเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ได้รับการยอมรับ เพื่อเป็นการสร้างแรงผลักดันให้ผู้เข้าร่วมโครงการเป็นสตาร์ทอัพทางด้านเครื่องสำอาง หรืออย่างน้อยที่สุดได้นำความรู้ และทักษะไปผลิตใช้กับตนเองหรือคนในครอบครัวต่อไป


"ลองผิด ลองถูก ไปเรื่อย ๆ แต่ต้องทำการบันทึกข้อมูลต่างๆ อย่างละเอียด เพื่อให้สามารถนำมาแก้ไขและพัฒนาต่อไปได้"

หลักสูตรที่ 3 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ และถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ

หลักสูตรที่ 3 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ และถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ
วันที่ 6-7 พฤศจิกายน 2564 ณ วิสาหกิจขนมไทยบ้านท่าเตียน ตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี

  • เทรนด์อาหารสุขภาพสำหรับผู้สูงวัย  โดย ผศ.ดร.วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ อ.อัญชนา ขัตติยะวงศ์ และ ผศ.ดร.สิริรัตน์ พานิช
  • ภูมิปัญญาชาวบ้านทักษะแห่งวิชาชีพ  โดย คุณป้าส่งเสียง สร้อยพวงนาค ปราญ์ชชาวบ้าน แห่งวิสาหกิจขนมไทยบ้านท่าเตียน
  • การพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพจากวัตถุดิบท้องถิ่นแห่งเมืองสุพรรณ โดย ผศ.เชาวลิต อุปฐาก (อ.ต้น) และ อ.เปรมระพี อุยมาวีรหิรัญ จากคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • ผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบการเกษตรแห่งลุ่มแม่น้ำท่าจีน กระยาสารทเคลือบช๊อกโกแลต กระยาสารทคาราเมล ข้าวแผ่นกรอบรสพริกแกง ข้าวคาราเมล โดย นางสวณีย์ โพธิ์รัง และ ผศ.ธนัฎฐา  อำนวยวัฒนะกุล

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ และถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ ได้รับการอนุเคราะห์จากวิทยากร นางส่งเสียง สร้อยพวงนาค ปราญ์ชชาวบ้าน แห่งวิสาหกิจขนมไทยบ้านท่าเตียน อ.เดิมบางนางบวช ได้ร่วมถ่ายทอดภูมิปัญญาชาวบ้านทักษะแห่งวิชาชีพ เกี่ยวกับการทำขนมไทย กระยาสารทสูตรดั้งเดิม เพื่อส่งต่อภูมิปัญญาต่อรุ่นลูกหลาน


ผศ.เชาวลิต อุปฐาก และ อ.เปรมระพี อุยมาวีรหิรัญ จากคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้ร่วมพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพจากวัตถุดิบท้องถิ่นแห่งเมืองสุพรรณ เช่น ข้าว กข 43 ที่ถือว่าเป็นอัตลักษณ์หนึ่งของชาวเดิมบาง ข้าว Low GI ที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงวัย ก่อเกิดเป็นผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบการเกษตรแห่งลุ่มแม่น้ำท่าจีน เช่น กระยาสารทเคลือบช๊อกโกแลต กระยาสารทคาราเมล ข้าวแผ่นกรอบรสพริกแกง ข้าวคาราเมล

« of 2 »

กิจกรรมที่ 2 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารออนไลน์ในยุคสังคมดิจิทัล และการพัฒนาทักษะการสร้างสื่อเพื่อการสื่อสาร โฆษณาและประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการ

หลักสูตรที่ 4 การพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารออนไลน์ในยุคสังคมดิจิทัล และการพัฒนาทักษะการสร้างสื่อเพื่อการสื่อสาร โฆษณาและประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการ

วันที่ 8-9 ธันวาคม 2564 ณ สำนักงานเทศบาลตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี

  • "ความท้าทายใหม่แห่งโลกออนไลน์ ที่ใคร ๆ ต้องรู้"  โดย ผศ.ดร.วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ และ ผศ.ดร.สิริรัตน์ พานิช
  • เทคนิคการถ่ายภาพสินค้า  โดย นายนิวัฒน์ จันทร์สุวรรณ ช่างภาพอิสระจังหวัดสุพรรณบุรี
  • เทคนิคการถ่ายภาพสินค้าและแหล่งท่องเที่ยวด้วยมือถือ โดย นายศักดิ์เทพ จำนงค์ลาภ และนายอุเทน พรหมมิ จากสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • เทคนิคการตัดต่อวีดิโอด้วยมือถืออย่างมืออาชีพ โดย นายปฐมพงศ์ จำนงค์ลาภ จากสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
นายธนนท์ พรรพีภาส นายอำเภอเดิมบางนางบวช ที่ให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารออนไลน์ในยุคสังคมดิจิทัล และการพัฒนาทักษะการสร้างสื่อเพื่อการสื่อสาร โฆษณาและประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการ” ภายใต้โครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย  ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
กิจกรรมดังกล่าวได้ความอนุเคราะห์ทีมวิทยากร จากสำนักวิทยบริการและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และหน่วยงานภายนอก มาร่วมในการฝึกเทคนิคการถ่ายภาพสินค้า ผลิตภัณฑ์อาหาร ขนม และแหล่งท่องเที่ยวด้วยมือถือ และเสริมสร้างทักษะการตัดต่อวีดิโอด้วยมือถืออย่างมืออาชีพ

 

ตัวอย่างผลงานของผู้เข้าร่วมโครงการ

หลักสูตรที่ 5 โครงการเสวนา "แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน สู่การยกระดับเศรษฐกิจแบบบูรณาการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

วันที่ 13 ธันวาคม 2564 ณ สำนักงานเทศบาลตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี โดยดำเนินการเสวนาโดย ผศ.ดร.วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ และมีผู้เสวนา ประกอบด้วย

  • ผศ.ดร.สิริรัตน์ พานิช  (ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อรับรองมาตรฐาน มผช.)
  • นางสาวศิริวรรณ พานิช  (หน่วยงานภาคเอกชน)
  • นางสวณีย์ โพธิ์รัง  (ประธานกลุ่มวิสาหกิจบ้านท่าเตียน)
  • นายจิรกฤต พวงมาลี  (นักพัฒนาชุมชน เทศบาลตำบลเดิมบาง)