ฉลากสารเคมี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ
ปรับปรุงล่าสุด: 1 มีนาคม 2564

ฉลากสารเคมี โดย ดร.วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ

ฉลากสารเคมี (Chemical Labeling) ข้อมูลสารเคมีบนฉลากที่ปิดบนภาชนะบรรจุสารเคมี เป็นข้อมูลที่สำคัญที่บ่งบอกถึงประเภท ชนิด และข้อมูลต่าง ๆ ของสารเคมีนั้น ๆ และยังจำเป็นต่อการใช้งาน การเก็บรักษา การขนส่ง ตลอดจนการแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับสารเคมี  ฉลากสารเคมีเป็นส่วนสำคัญในการบ่งบอกถึงคุณภาพสารเคมี (เกรดสารเคมี) โดยทั่วไปฉลากต้องระบุข้อมูลดังนี้

  1. ข้อมูลผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย  ชื่อสารเคมี (ชื่อตามระบบ IUPAC และ/หรือ ชื่อสามัญ ซึ่งอาจปรากฎหลายภาษา) สูตรเคมีหรือสูตรโมเลกุล น้ำหนักโมเลกุล  ปริมาณสารปนเปื้อน เป็นต้น
  2. สัญลักษณ์เตือน หรือ สัญลักษณ์แสดงอันตราย (hazard pictogram)
  3. วิธีการเก็บรักษา
  4. วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อเกิดอุบัติเหตุ
  5. ข้อมูลผู้ผลิต

 

 

ผู้ใช้สารเคมีควรจะอ่านฉลากสารที่จะใช้ให้ดีเสียก่อนเพื่อป้องกันความผิดพลาดและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยทั่วไปแล้วฉลากสารเคมี ฉลากสารเคมี (Chemical Labeling) จะระบุถึงสิ่งต่อไปนี้

  1. ชื่อสารเคมี (chemical name)
  2. สูตรโมเลกุลหรือสูตรโครงสร้าง (formula weight, formula structure)
  3. มวลโมเลกุล, น้ำหนักโมเลกุล (molecular weight- Mr, MT, M.W., F.W.)
  4. เกรด (grade- AR, lab, technical)
  5. บริษัทผู้ผลิต (company suppliers)
  6. ความบริสุทธิ์ (% assay)
  7. สิ่งเจือปน (impurities)
  8. เลขประจำสารเคมี (catalog number)
  9. รหัสแสดงอันตราย (risk phrases) และรหัสความปลอดภัย (safety phrases)
  10. ปริมาณสุทธิ
  11. สัญลักษณ์แสดงอันตรายและคำเตือน (hazard pictogram)
  12. รายการอื่นๆ

ฉลากสารเคมีนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากสารเคมีที่ใช้แล้วหรือเก็บไว้นานๆ ฉลากที่ติดข้างขวดอาจที่การหลุดออก หรือเปื่อยยุ่ย เลอะเลือนไม่ชัดเจน จึงจำเป็นต้องมีการตรวจเป็นระยะๆ เพราะหากไม่ทราบว่าเป็นสารใดแล้วจะต้องทำการพิสูจน์หรืออาจจะต้องทิ้งสารนั้นเลย ดังนั้นควรระลึกเสมอว่าก่อนจะใช้สารเคมีใด ผู้ใช้ต้องมีความรู้และถึงข้อความตลอดจนคำเตือนหรือสัญลักษณ์ที่ระบุบนฉลากข้างขวดเสียก่อน ผู้ใช้ควรมีข้อปฏิบัติดังนี้

  1. เมื่อมีการถ่ายเทสารออกจากขวดเดิมจะต้องเขียนชื่อสารเคมี บริษัทผู้ผลิต เกรด อย่างชัดเจนติดบนสารขวดใหม่เพื่อป้องกันการใช้สารเคมีผิดพลาด
  2. ควรมีฐานข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีที่จะใช้นั้น เพื่อเป็นประโยชน์ในการจัดเก็บหรือปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่ออุบัติเหตุ
  3. สารเคมีที่นำกลับมาใช้อีกจะต้องเขียนฉลากให้ชัดเจน

ฉลากแอซิโตไนไทรล์ (Acetonitrile) ฉลากแอซิโตน (Acetone)

ตัวอย่างฉลากกรดไนทริก (Nitric acid)


เมื่อมีการเตรียมสารละลายใหม่หรือเทสารละลายออกจากขวดแล้วใช้ไม่หมด ผู้ใช้จะต้องจัดเก็บสารเคมีบรรจุในชวด โดยติดสติ๊กเกอร์และจัดเก็บสารเคมีตามประเภทความเป็นอันตราย

สีแดง สารไวไฟ
สีเหลือง สารไวต่อปฏิกิริยาและสารออกซิไดซ์
สีน้ำเงิน สารอันตรายต่อสุขภาพ (สารพิษ)
สีขาว สารกัดกร่อน
สีเทา ไม่มีสารอันตรายต่อสุขภาพมาก

 

 

เอกสารอ้างอิง

[Main Menu]  :   << Back    Next >>