ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ
ปรับปรุงล่าสุด: 1 พฤศจิกายน 2565
Bloom’s Taxonomy
/Benjamin_Bloom_photo-5c73234a46e0fb0001076305.jpg)
Benjamin Samuel Bloom
บลูม (Benjamin Samuel Bloom) นักการศึกษาชาวอเมริกันที่เชื่อว่า
"การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องอาศัยพฤติกรรมการเรียนรู้และจิตวิทยาพื้นฐาน"
กล่าวถึงการจำแนกการเรียนรู้ตามทฤษฎีของบลูม หรือเรียกว่า ระดับขั้นความสามารถของบลูม (Bloom’s Taxonomy) ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านทักษะพิสัย และด้านจิตพิสัย โดยในแต่ละด้านจะมีการจำแนกระดับความสามารถจากต่ำสุดไปถึงสูงสุด เช่น
- ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เริ่มจากความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมิน นอกจากนี้ยังนำเสนอระดับความสามารถที่มีการปรับปรุงใหม่ตามแนวคิดของ Anderson and Krathwohl (2001) เป็น การจำ (Remembering) การเข้าใจ(Understanding) การประยุกต์ใช้ (Applying) การวิเคราะห์ (Analysing) การประเมินผล (Evaluating) และการสร้างสรรค์ (Creating)
- ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) จำแนกเป็น การรับรู้, การตอบสนอง, การสร้างค่านิยม, การจัดระบบ และการสร้างคุณลักษณะจากค่านิยม
- ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) จำแนกเป็น ทักษะการเคลื่อนไหวของร่างกาย, ทักษะการเคลื่อนไหวอวัยวะสองส่วนหรือมากกว่าพร้อม ๆ กัน, ทักษะการสื่อสารโดยใช้ท่าทาง และทักษะการแสดงพฤติกรรมทางการพูด
พุทธพิสัย (Cognitive Domain)
"พฤติกรรมด้านสมองเป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา ความรู้ ความคิด ความเฉลียวฉลาด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญา"
- ความรู้ที่เกิดจากความจำ (Knowledge) ความสามารถของสมองในการระลึกได้ จำความรู้ สารสนเทศ แสดงรายการได้ ระบุบอกชื่อได้ ซึ่งเป็นความจำระยะยาว
- ความเข้าใจ (Comprehend) ความสามารถของสมองในการแปลความหมายยกตัวอย่าง สรุป อ้างอิง การศึกษาของตัวเอง
- การประยุกต์ (Application) การนำไปใช้เป็นกระบวนการที่ได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดในสถานการณ์ใหม่ หรือสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน
- การวิเคราะห์ (Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้ : การแยกความรู้ออกเป็นส่วน ๆ โดยสามารถให้เหตุผลว่าความรู้ส่วนย่อยที่แยกแต่ละส่วน มีความเกี่ยวข้องกับโครงสร้างของความรู้ทั้งหมดอย่างไร
- การประเมินค่า (Evaluation) ความสามารถของสติปัญญาเกี่ยวกับการตรวจสอบ ควบคุม ทดสอบ เพื่อค้นหาความไม่สอดคล้องหรือความขัดแย้งในกระบวนการ หรือผลผลิตการวิพากษ์ต่าง ๆ เพื่อการตัดสินใจ
- สร้างสรรค์ (Creating) ความสามารถในสติปัญญ่ในการสร้างสิ่งใหม่ จากลิ่งที่เคยเรียนรู้ หรือพบเห็นในบริบทต่าง ๆ ที่สามารถในการสร้างสรรค์งานวางแผนงาน และดำเนินตามกระบวนการจนได้รับความสำเร็จ
ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain; Skill)
"พฤติกรรมที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่ว ชำนาญ ซึ่งแสดงออกมาได้โดยตรงโดยมีเวลาและคุณภาพของงานเป็นตัวชี้ระดับของทักษะ"
- การรับรู้ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (Perception)
- ความพร้อมที่จะปฏิบัติ (Set)
- การปฏิบัติตามข้อแนะนำ (Guided Response)
- การปฏิบัติจนเป็นนิสัย (Mechanism)
- การปฏิบัติที่สลับซับซ้อน (Complex overt response)
- การปรับเปลี่ยนการปฏิบัติ (Adaption)
- การสร้างปฏิบัติการใหม่ (Origination)
Action | Definition | Verbs (กริยา) |
Perception | The ability to use sensory cues to guide motor activity. This ranges from sensory stimulation, through cue selection, to translation. | Detect, hear, listen, observe, percieve, recognize, see, sense, smell, taste, view, watch, chooses, describes, differentiates, distinguishes, identifies, isolates, relates, selects. |
Set | Readiness to act. It includes mental, physical, and emotional sets. These three sets are dispositions that predetermine a person's response to different situations (sometimes called mindsets). | Achieve, assume, astablish, place, position, sit, stand, station, begins, displays, explains, moves, proceeds, reacts, shows, states, volunteers. |
Guided response | The early stages in learning a complex skill that includes imitation and trial and error. Adequacy of performance is achieved by practicing. | Copies, traces, follows, react, reproduce, responds |
Mechanism (basic proficiency) | This is the intermediate stage in learning a complex skill. Learned responses have become habitual and the movements can be performed with some confidence and proficiency. | Assembles, calibrates, constructs, dismantles, displays, fastens, fixes, grinds, heats, manipulates, measures, mends, mixes, organizes, sketches. |
Complex Overt Response (Expert) | The skillful performance of motor acts that involve complex movement patterns. Proficiency is indicated by a quick, accurate, and highly coordinated performance, requiring a minimum of energy. This category includes performing without hesitation, and automatic performance. For example, players are often utter sounds of satisfaction or expletives as soon as they hit a tennis ball or throw a football, because they can tell by the feel of the act what the result will produce. | Assembles, builds, calibrates, constructs, dismantles, displays, fastens, fixes, grinds, heats, manipulates, measures, mends, mixes, organizes, sketches. |
Adaptation | Skills are well developed and the individual can modify movement patterns to fit special requirements. | Adapts, alters, changes, rearranges, reorganizes, revises, varies |
Origination | Creating new movement patterns to fit a particular situation or specific problem. Learning outcomes emphasize creativity based upon highly developed skills. | Arranges, builds, combines, composes, constructs, creates, designs, initiate, makes, originates. |
ด้านจิตพิสัย (Affective Domain)
ค่านิยม ความรู้สึก ความซาบซึ้ง ทัศนคติ ความเชื่อ ความสนใจและคุณธรรม พฤติกรรมด้านนี้อาจไม่เกิดขึ้นทันที ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และสอดแทรกสิ่งที่ดีงามอยู่ตลอดเวลา จะทำให้พฤติกรรมของผู้เรียนเปลี่ยนไปในแนวทางที่พึงประสงค์ได้
- การรับรู้หรือการใส่ใจต่อสิ่งเร้า (Receiving or Attending)
- การตอบสนอง (Responding)
- การเห็นคุณค่า (Valuing)
- การจัดระบบค่านิยม (Organization)
- การแสดงลักษณะตามค่านิยม (Characterization)
ระดับขั้นความสามารถหรือที่เรียกกันว่าระดับพฤติกรรมเป็นระดับขั้นความสามารถที่บลูมสร้างขึ้นมาสําหรับการจัดหมวดหมู่ระดับของคําถามที่เป็นนามธรรม ที่เกิดขึ้นทั่วไปในบริบทของการศึกษา ระดับขั้นความสามารถเป็นโครงสร้างที่มีประโยชน์ สําหรับจัดหมวดหมู่คําถามที่ใช้ในการทดสอบ เนื่องจากผู้สอนทั้งหลายจะตามคําถามที่มีลักษณะเฉพาะตัวภายในระดับขั้นที่เฉพาะเจาะจง และถ้าเราสามารถตัดสินใจได้ว่าจะเลือกระดับคําถามใดไปใช้ในการสอบของเรา เราจะสามารถศึกษาวิธีการใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมกับคําถามนั้น ๆ ได้
สมรรถนะ/พฤติกรรม (Competence) | ความหมาย (Definition) | คํากริยาที่ใช้ (Useful Verbs) |
ทักษะที่แสดงออก (Skills Demonstrated) |
ตัวอย่างคําถาม (Sample Question Stems) |
ผลผลิตและกิจกรรมที่มีศักยภาพ (Potential Activities and Products) |
1. ความรู้ ความจํา | มีความรู้และความจำประสบการณ์ในสิ่งที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ | บอก, ชี้, บ่ง, ให้, รายการ, จับคู่, บอกข้อ, ให้นิยาม, ระบุ | - การสังเกตและการระลึก ข้อมูล - ความรู้เกี่ยวกับวันที่เหตุการณ์ สถานที่ - ความรู้เกี่ยวกับความคิดหลัก - ความรอบรู้ในเนื้อหาวิชา |
- เกิดอะไรขึ้นหลังจาก...? - มี...จำนวนเท่าใด? - นั่นใครที่กำลัง..? - คุณสามารถบอกชื่อ...ได้ไหม? - จงบรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่... - ใครพูดกับ..? - อะไรคือ...? - ข้อไหนถูกหรือผิด? |
- จงทำรายการเหตุการณ์สำคัญ - จงลำดับเวลาที่เกิดเหตุการณ์ - จงทำแผนภูมิข้อเท็จจริง - จงเขียนข้อมูลต่าง ๆ ที่คุณจำได้ - จงระบุ...ทั้งหมดในเรื่อง - จงเขียนแผนภูมิที่แสดง... - จงเขียนกลอนที่มีสัมผัสอักษร - จงท่องโคลงมาหนึ่งโคลง |
2. ความเข้าใจ | มีความเข้าใจเรื่องราวหรือเหตุการณ์ความหมายสัญลักษณ์ ความสัมพันธ์ ข้อมูล คติ พจน์และหลักการ |
แปลเปลี่ยน, บอกความแตกต่าง, บอกความคล้ายคลึง, ขยายความ, ยกตัวอย่าง, อธิบาย ความหมาย, สรุป, จัดเรียง, เรียงใหม่, สาธิตเผยแพร่, พรรณา, ให้เหตุผลอธิบาย, อภิปราย |
- ความเข้าใจข้อมูล - จับความหมาย - แปลความรู้ไปสู่บริบทใหม่ - ตีความเปรียบเทียบ - เทียบเคียงข้อเท็จจริง - จัดระเบียบ จัดกลุ่มอ้างอิง - ข้อมูลหรือสาเหตุ - คาดเดาผลต่อเนื่อง |
- คุณเขียน...เป็นคำพูดของตนเองได้ไหม? - คุณสามารถเขียนโครงร่างย่อๆ ของ...ได้ไหม? - คุณคิดว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป - คุณคิดว่าใคร...? - ใจความสำคัญของ...คืออะไร? - ใครคือตัวละครหลัก...? - คุณสามารถแยกความแตกต่างระหว่าง...? - มีข้อแตกต่างอะไรบ้างระหว่าง...? - พอจะยกตัวอย่างประกอบคำอธิบายได้ไหม? - หาคำจำกัดความของ...ได้ไหม? |
- ตัดแปะหรือวาดภาพเพื่อแสดงเหตุการณ์พิเศษเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง - ขยายความสิ่งที่คุณคิดว่าเป็นใจความสำคัญ - จงวาดการ์ตูน 3 ช่องแสดงลำดับเหตุการณ์ - จงเขียนและแสดงละครตามเรื่องที่อ่าน - จงวาดภาพสถานที่ที่คุณชอบ - จงเขียนรายงานสรุปเหตุการณ์ - จงเตรียม flow chart แสดงลำดับความต่อเนื่องของเหตุการณ์ต่าง ๆ |
3. การนำไปใช้ | สามารถนำความรู้ที่ได้เรียนมาใช้ทำสิ่งใหม่ ๆ ได้ | ประยุกต์, จัดระบบ, แก้ปัญหา, เปลี่ยนแปลง, ใช้, จัดชั้น, เลือก, การโชว์, การคำนวณ, การจัดทำโครงการใหม่, เสนอ |
- ใช้ข้อมูล - ใช้วิธีการ แนวคิด ทฤษฎีในสถานการณ์ใหม่ - แก้ปัญหาโดยใช้ทักษะหรือความรู้ที่กำหนดให้ |
- คุณรู้จักตัวอย่าง/กรณีที่..... - เรื่องนี้อาจจะเกิดขึ้นได้ ใน...? - คุณจัดกลุ่มโดยอุปนิสัยเช่น...ได้ไหม? - คุณจะเปลี่ยนองค์ประกอบตัวใด ถ้า...? - คุณสามารถประยุกต์วิธีการที่ใช้เข้ากับประสบการณ์ของตนเองในด้าน...ได้ไหม - คุณจะถามคำถามอะไรเกี่ยวกับ...? - จากข้อมูลที่ให้ คุณสามารถพัฒนา/เขียนวิธีทำหรือคำสั่งเกี่ยวกับ...ได้ไหม? - ข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ไหม ถ้าคุณมี...? |
- จงทำรูปแบบจำลองเพื่อสาธิตว่ามันทำงานอย่างไร - จงสร้างฉากจำลองเหตุการณ์สำคัญเหตุการณ์หนึ่ง - จงทำสมุดภาพเกี่ยวกับขอบเขตการศึกษา - จงทำแผนที่กระดาษนูนที่รวบรวมข้อมูลที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง - รวบรวมภาพถ่ายเพื่อนำเสนอประเด็นสำคัญ - ออกแบบยุทธศาสตร์การตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ของตนโดยเลียนแบบยุทธศาสตร์ที่เป็นที่รู้จัก |
4. การวิเคราะห์ | สามารถแยกวัตถุสิ่งของเป็นส่วน ๆ เป็นชิ้นเป็นอันทำให้ทราบถึงองค์ประกอบของวัตถุ สิ่งของนั้น ๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อการศึกษาระดับ ชั้นสูงต่อไป |
เปรียบเทียบ, แยกแยะ, ความแตกต่าง, ทดสอบ, ทดลอง, วิเคราะห์ , ตรวจสอบ, โต้แย้ง, ถามสังเกต, ให้เหตุผล, จัดประเภท, จำแนก |
- การเห็นวิธีการต่าง ๆ - การจัดการส่วนต่าง ๆ - การจดจำความหมายต่าง ๆ ที่ซ่อนอยู่ - การระบุลักษณะขององค์ประกอบ |
- เหตุการณ์ใดสามารถเกิดขึ้นได้...? - ถ้า...เกิดขึ้นจุดจบน่าจะเป็นอย่างไร? - สิ่งชี้คล้ายคลึงกับ...อย่างไรประเด็นที่ซ่อนเร้นของ...คืออะไร? - มีผลลัพธ์อื่นใดบ้างที่มีทางจะเป็นไปได้? - ทำไมการเปลี่ยนแปลงใน...จะเกิดขึ้นได้? - คุณเปรียบเทียบ...กับที่แสดงใน...? - อธิบายได้ไหมว่าอะไรจะเกิดขึ้นเมื่อ...? - มีอะไรเป็นแรงจูงใจอยู่เบื้องหลัง...? - มีอะไรเป็นจุดเปลี่ยนในเกมนั้น? |
- ออบแบบแบบสอบถามเพื่อรวบรวมข้อมูล - เขียนประชาสัมพันธ์เพื่อขายผลิตภัณฑ์ใหม่ - จงสำรวจหาข้อมูลเพื่อสนับสนุนทัศนะใดทัศนะหนึ่ง - ทำ flow chart เพื่อแสดงสภาวะวิกฤตต่าง ๆ - จงทำกราฟเพื่อแสดงข้อมูลที่เลือกมา - จงทำผังครอบครัวแสดงถึงสัมพันธภาพ - ให้จัดงานปาร์ตี้ จงเตรียมการทุกอย่างและบันทึกขั้นตอนที่จำเป็น |
5. การสังเคราะห์ | สามารถรวมความคิดเห็น ความเชื่อที่ แตกต่างกัน เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างข้อความ รวมสิ่งย่อยเข้า เป็นสิ่งใหญ่ |
รวม, บูรณาการ, เปลี่ยน, จัดแจง, ใช้แทน, วางแผน, สร้างสรรค์, ออกแบบ, ประดิษฐ์อะไรจะเกิดขึ้นถ้า...? สร้างประกอบ, เตรียม, สรุปกฎเขียนใหม่ | - ใช้ความคิดเดิมมาสร้างแนวคิดใหม่ - สรุปกฎเกณฑ์จากข้อเท็จจริงที่ให้ - เชื่อมโยงความรู้จากหลาย ๆ สาขา - คาดคะแน - ลงข้อสรุป |
- ให้ออกแบบ...เพื่อ... - ทำไมไม่แต่งเพลงเกี่ยวกับ...? - ให้คิดหาวิธีแก้ปัญหาโจทย์เพื่อ... - ทำไมไม่เปลี่ยนวิธีการของตนเพื่อจัดการกับ...? - อะไรจะเกิดขึ้นถ้า...? - มีวิธีการกี่วิธีที่สามารถ...? - คุณเห็นว่าควรมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างสำหรับ...? - คุณเชื่อไหม? |
- ให้ออกแบบที่เก็บงานที่ศึกษา - ให้สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ตั้งชื่อและวางแผนรณรงค์การตลาด - ให้เตรียมเกณฑ์การตัดสินสำหรับกรรมการตัดสินการแสดง...ระบุเงื่อนไขข้อยกเว้นและน้ำหลักคะแนน - จัดการโต้วาทีเกี่ยวกับประเด็นที่อยู่ในความสนใจเป็นพิเศษ - ให้คิดกฎกติกา 5 อย่างที่เห็นว่าสำคัญในการปฏิบัติตนเพื่อโน้มน้าวคนอื่นให้ปฏิบัติตาม - จัดอภิปรายเกี่ยวกับทัศนะต่าง ๆ เช่น การเรียนที่โรงเรียน - เขียนจนหมายหนึ่งฉบับถึง...เสนอแนะการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นในเรื่อง... - เขียนรายงานเกี่ยวกับ..... - เตรียมเรื่องสำหรับนำเสนอข้อคิดเห็นของตนเกี่ยวกับ..... |
คำกริยาที่บ่งถึงประเภทและระดับพฤติกรรม
ตารางแสดงตัวอย่างคำกริยาที่บ่งถึงประเภทและระดับพฤติกรรมในการเขียนจุดประสงค์การสอน
ประเภท | ระดับ | จุดประสงค์ทั่วไป | จุดประสงค์เฉพาะ |
พุทธพิสัย | ความรู้ | รู้ระบบแบบแผน, รู้ระดับขั้นตอน, รู้กฎเกณฑ์, รู้วิธีการ, รู้กระบวนการ, รู้ทฤษฎี | บอกความหมาย, บอกคำจำกัดความ, บอกรูปแบบ, บอกกฎ, บอกชนิด, บอกชื่อ, ระบุชื่อ, บอกหลักการ, บอกข้อกำหนด, บอกองค์ประกอบ, บอกลักษณะ บอกการกระทำ, บอกวิธีใช้, บอกวิธีปฏิบัติ, บอกวิธีการ, จัดประเภท, จำแนก, เขียนรูปแบบ, เขียนลำดับขั้น |
ความเข้าใจ | เข้าใจเรื่องเกี่ยวกับ, เข้าใจทฤษฎี, เข้าใจกระบวนการ, เข้าใจกฎเกณฑ์, เข้าใจหลักสูตร, เข้าใจหลัก, วิธีการ | อธิบาย, ให้ความหมาย, เขียนสูตร, บรรยายขยายความ, เขียนลักษณะโครงสร้าง, อธิบายขั้นตอน ตีความ, แยกข้อแตกต่าง |
|
การนำไปใช้ | แก้ปัญหา, ตรวจสอบ, คำนวณ, พิจารณาเลือก, ประมาณการ, จัดทำ, ใช้สูตรคำนวณ, ใช้เครื่องมือสอบ, ใช้ระเบียบปฏิบัติ | สรุปความ, หาจุดบกพร่อง, ลงความเห็น, บอกวิธีการ, แก้, คาดคะเน, คำนวณหาค่า, พยากรณ์, โดยกำหนด,ประมาณค่าแรง, ซ่อม, จุดบกพร่องเลือกหรือค้นหา | |
สูงกว่า | อภิปราย, วางแผน, ออกแบบ, พัฒนา, วิเคราะห์, สร้างสรรค์, ประเมินผล, ประเมินค่า | ปรับปรุงปฏิบัติ, เขียนแผลงาน, หาขนาดหรือหาค่า, โดยใช้ตาราง, ชี้ข้อดีข้อเสีย, วางหลักการ, เขียนกำหนดการ, เขียนแผนการ, จัดลำดับขั้นตอน, คำนวณขนาด, คำนวณเปรียบเทียบ, วางแผน เขียนโครงสร้าง, เปลี่ยนแปลง, ปรับปรุง, พิจารณาเลือก |
|
ทักษะพิสัย | ไม่แบ่งระดับ | ใช้เครื่องมือ, ใช้อุปกรณ์, ปฏิบัติงาน, ติดตั้งอุปกรณ์, ตรวจสอบและแก้ไข, ซ่อมบำรุง, ทำ, สร้าง, ประดิษฐ์ | ประดิษฐ์, พิจารณาเปรียบเทียบ, ออกแบบ, เลือก, ตัดสิน
คำกิริยาที่เกี่ยวกับปฏิบัติการที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น ผูกรอก ทาสี ตอกระปู วัดขนาด ทำความสะดาด ถอด ใส่ เจาะ เย็บ เขียนหรือสเก็ตภาพ ลับมีด ตั้งศูนย์ล้อ ติดตา ต่อกิ่ง ฉีดยา |
จิตพิสัย | ไม่แบ่งระดับ | เห็นความสำคัญ, เห็นคุณค่า, รับผิดชอบ, ทัศนคติ กิจนิสัย, มีระเบียบ, สะอาด, ปราณีต | แสดงความเสียใจ, เห็นด้วย, ให้ความร่วมมือ ,ปฏิบติตาม, ร่วมกิจกรรม, ปฏิบัติงานตรงเวลา, แสดงออกของกิจนิสัย, สอบถามติดตาม |
หมายเหตุ คำกิริยาสำหรับจุดประสงค์เฉพาะบางคำใช้ได้กับพฤติกรรมหลายระดับ เช่น คำว่า บอก เขียน คำนวณ ดังนั้นการพิจารณาจุดประสงค์ว่าจะอยู่ในระดับใดขึ้นอยู่กับข้อความที่ตามหลังกิริยา นั้น
แหล่งอ้างอิง
Bloom's Taxonomy: The Psychomotor Domain. (2015, Jan 12). http://www.nwlink.com/~donclark/hrd/Bloom/psychomotor_domain.html